วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

6. สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก


สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก การปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตกแต่งภาพ เนื่องจากภาพภายหรือภาพสแกนอาจมีแสงไม่เพียงพอทำให้ภาพดูมืดไม่สวยงาม จึงมีเครื่องมือเพื่อใช้จัดการกับข้อบกพร่องของภาพถ่ายหรือภาพสแกนที่มีปัญหาด้านสีและแสง ซึ่งการใช้งานคำสั่งต่างๆ สามารถทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว
        การใช้คำสั่ง Imageในการปรับสีและแสงเงาของรูปภาพ
คำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพมีหลายคำสั่ง ซึ้งการใช้งานคำสั่งต่างๆ จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเลือกใช้คำสั่งต่างๆ  ซึ่งมีดังนี้
คำสั่ง Levels
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ เพื่อให้ภาพมีคุณภาพที่ดีขึ้น คือมีความมืดความสว่างพอดีและชัดเจน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjusment -> Levels จะปรากฏหน้าต่าง Levels >Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงเมื่อปรับภาพได้ตามต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Auto Levels
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับความมืดและความสว่างให้กับภาพแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะปรับสีในแต่ละแชนเนลอย่างเป็นอิสระต่อกัน จึงอาจทำให้ภาพเกิดสีเพี้ยนได้ ดังนั้นควรใช่กับภาพที่มีโทนสีไม่ต่างกันมากเพื่อนลดความเพี้ยนของสี ซึ่งมีวิธีการใช้คำสั่ง คือ คลิกที่เมนู Image-> Adjustment-> Auto Levels
คำสั่ง Auto Contrast
คำสั่ง Auto Color
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและความต่างระหว่างความมืดและความสว่างให้กับภาพแบบอัตโนมัติซึ่งช่วยแก้ปัญหาสีเพี้ยน โดยมีวิธีการคือ คลิกที่เมนู Image-> Adjustment-> Auto Color
คำสั่ง Curves
                        เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพเหมือนคำสั่ง Levels แต่จะปรับแบบในลักษณะเส้นกราฟซึ่งสามารถกำหนดจุดเส้นได้ถึง 14 จุด จึงอาจทำให้สีเพี้ยนได้ เหมาะกับการสร้างเป็นเอฟเฟ็กต์ให้กับภาพ ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Curves จะปรากฏหน้าต่าง Curves
คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสง   คลิกที่เครื่องมือ เพื่อเลือกปรับแบบคลิกเมาส์ด้านซ้าย




คำสั่ง Color Balance
                เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับความสมดุลให้กับภาพหรือใช้เปลี่ยนสีภาพก็ได้  เหมาะกับการปรับแก้ภาพเก่าให้ดูใหม่ขึ้น หรือใช้สร้างเอฟเฟ็กซ์ให้กับภาพ เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Color Balance จะปรากฏหน้าต่าง Color Balance
2.             คลิกที่ Preserve Lumionsity เพื่อล็อกค่าความสว่างไว้ไม่ให้เปลี่ยนในขณะที่หรับสี
3.             คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากไปในโทนสีที่ต้องการปรับเปลี่ยน โดยจะกำหนดโทนสีตรงข้ามกัน คือ สีฟ้า(Cyan) ตรงข้ามกับสีแดง (Red), สีม่วงแดง (Magenta) ตรงข้ามกับสีเขียว (Green) และ สีเหลือง(Yellow) ตรงข้ามกับสีน้ำเงิน (Blue) คลิกเลือกโทนการปรับสีและแสงเงาที่ตัวเลือก Tone Balance ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Shadows                            การปรับในโทนมืด
Midtone                              การปรับในโทนปานกลาง
Highlight                             การปรับในโทนสว่าง
1.             คลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Brightness/Contrast
                เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับแสงเงาของภาพแบบมีผลกับทุกพิกเซลเท่าๆกัน จึงทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Brightness/Contrast จะปรากฏหน้าต่าง Brightness/Contrast
คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างของแสงเงา คลิกที่ปุ่ม OK
        การใช้คำสั่ง Hue/Saturation
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ ซึ่งสามารถเลือกสีภาพที่จะปรับหรือเลือกปรับเป็นสีใดสีหนึ่งก็ได้  ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1.             เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
2.             Selection ภาพในบริเวณที่ต้องการเปลี่ยนสี เช่น Selection ที่ชุดเพื่อเปลี่ยนสีชุดจากสีฟ้าเป็นสีชมพู
3.             คลิกที่เมนู Select -> Color Range จากนั้นคลิกเลือกพื้นที่ภาพ
4.             คลิกที่ปุ่ม OK จะได้ผลลัพธ์
5.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustments -> Hue/Saturation จะปรากฏหน้าต่าง Hue/Saturation
6.             คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงเงา
7.             คลิกที่ปุ่ม OK


คำสั่ง Desaturation
เป็นคำสั่งที่ลดค่าความอิ่มตัวของสีให้เลือกเป็นสีเทา ซึ่งมีขั้นตอน คือ คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Desatiration

คำสั่ง Replace Color
เป็นคำสั่งปรับสีรูปภาพในตำแหน่งที่เลือก ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1.             เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
2.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Replace Color จะปรากฏหน้าต่าง
3.             คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
4.             คลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Selective Color
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับเพิ่มหรือลดค่าของสีที่โหมดสี CMYK ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.             เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
2.             คลิกที่เมนู Inage -> Adjustment -> Selective Color จะปรากฏหน้าต่าง
3.             คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
4.             คลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Channel Mixer
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับเพิ่มหรือลดสีในแต่ละแชนเนลหรือใช้ผสมในแต่ละแชนเนลก็ได้ เหมาะกับภาพแบบเป็นโทนสีเดียว ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.             เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
2.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Channel Mixer
3.             คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
4.             คลิกที่ปุ่ม OK
การสร้างภาพแบบ Grayscale
ทำตามขั้นตอนที่ 1-3 ในคำสั่ง Channel Mixer จากนั้นคลิกที่ตัวเลือก Monochrome เพื่อเปลี่ยนภาพจากโหมด RGB เป็น Grayscale ซึ่งเป็นภาพสีเทา จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Gradient Map
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีภาพแบบการไล่น้ำหนักโทนสีจากสีใน Gradient Map ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.             เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
2.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Gradient Map จะปรากฏหน้าต่าง
3.             คลิกที่เมนู Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
4.             คลิกที่ลูกศรในตัวเลือก Gradient Used for Grayscale Mapping จากนั้นคลิกเลือกสีที่ต้องการ
5.             คลิกเลือกรูปแบบการทำงานที่ตัวเลือก Gradient Options   Dither กำหนดให้การไล่สีมีความกลมกลืน
Reverse กำหนดกลับด้านทิศทางการไล่สี
1.             คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Invert
เป็นคำสั่งแปลงสีภาพให้เป็นสีแบบบนแผ่นฟิล์ม โดยคลิกที่เมนู Inage -> Adjustment -> Invert
คำสั่ง Equalize
เป็นคำสั่งปรับภาพให้มีความคมชัดขึ้น โดยการหาพิกเซลที่มีความมืดที่สุดและพิกเซลที่มีความสว่างที่สุด จากนั้นจึงปรับพิกเซลที่เหลือให้มีความสมดุลกัน โดยคลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Equalize จะได้ผลลัพธ์
คำสั่ง Threshold
                เป็นคำสั่งแปลงภาพให้เป็นสีขาวดำ โดยจะแทนที่พิกเซลที่มีความมืดเป็นสีดำและแทนพิกเซลที่มีความสว่างเป็นสีขาว ซึ่งทีขั้นตอนดังนี้
1.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Threshold จะปรากฏหน้าต่าง
2.             คลิกที่เมนู Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการแปลงสี
3.             คลิกที่ปุ่ม OK
คำสั่ง Posterize
เป็นคำสั่งที่ลดจำนวนสีในแต่ละแชลเนลลง จึงทำให้ภาพมีการตัดกันของสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.             คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Posterize จะปรากฏหน้าต่าง
2.             คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการแปลงสี ป้อนตัวเองที่ต้องกี่ลดสีลงในแต่ละแชนเนลในช่อง Levels
การใช้คำสั่ง Variations
เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ โดยเลือกเปลี่ยนตามสีที่ระบุ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
คลิกที่เมนู Inage -> Adjustment -> Variations จะปรากฏหน้าต่าง
คลิกที่ Show Clipping เพื่อแสดงภาพที่ปรับกำหนดส่วนที่ต้องการปรับ ดังนี้
Shadows                             ปรับส่วนที่มืดของภาพ
Midtones                             ปรับส่วนที่สว่างปานกลางของภาพ
Highlights                            ปรับส่วนที่สว่างของภาพ
Saturation                           ปรับความอิ่มตัวของสี
กำหนดความละเอียดในการปรับที่ตัวเลื่อน Fine/Coarse โดยคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากมด้านซ้ายทำให้
เพิ่มความละเอียดในการปรับ แต่ถ้าลากไปด้านขวาจะทำให้ลดความละเอีดยในการปรับและจะทำให้การปรับมี
ผลเร็ว เสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม OK


























ระบบสี ( Color Model)
            ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ      ดังนั้นจึงควรทราบระบบสี
ของคอมพิวเตอร์ก่อน ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
             1. RGB
             2. CMYK
             3. HSB
             4. LAB
1. RGB
          
 
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ แดง ( Red), เขียว ( Green) และน้ำเงิน ( Blue) เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี     
   
ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ     Additive หรือการผสมสีแบบบวก







2.  CMYK
          
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black)
    
เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูด
     
กลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลัก
    
ของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB ดังภาพ





3.   HSB
            
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักจะเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว
     
สีเหลือง สีแดง เป็นต้น Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
     Brightness
คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด



4.  LAB
       
    เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                   "L"
หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว
                   "A"
เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
                   "B"
เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง
























สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก

องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้งานออกแบบนั้นมีความสวยงาม และมีคุณค่าเป็นที่น่าสนใจคืองานกราฟิกที่มีสีเป็นส่วนประกอบในงานนั้นๆ สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกจะไม่เหมือนกับสีที่เราเห็นโดยทั่วไปความแตกต่างกันตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้งานของเราที่ออกแบบไว้ที่เห็นบนจอภาพของคอมพิวเตอร์กับภาพที่เห็นจากการพิมพ์แตกต่างกัน      สำหรับสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก มีรูปแบบการให้แสงและการสะท้อนแสงซึ่งมี2 วิธีดังที่ได้เรียนในเรื่องระบบของสีนั้น เราพอจะอธิบายถึงระบบสีที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้คือ ระบบสี Additiveและ ระบบสี Subtractive สีจากจอภาพของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สร้างสีโดยการ เปล่งแสงออกมาจากหลอดภาพโดยตรงและใช้ระบบสี RGB ดังนั้น ถ้าเรามองไปที่จอคอมพิวเตอร์ ใกล้มากๆในขณะที่เปิดอยู่จะเห็นจอคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยจุดเล็กๆของสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน                                          
                                คอมพิวเตอร์สามารถควบคุมปริมาณของแสงที่เปล่งออกมาในแต่ละจุดสี โดยการรวมค่าที่แตกต่างกันของ RGB เพื่อใช้ในการสร้างสี เนื่องจากว่าจุดนั้นเล็กเกินที่จะเห็นแต่ละจุดแยกกันตาของเราจึงมองเห็นการรวมกันของสีทั้ง 3 เป็นค่าเดียว เช่น ถ้าคอมพิวเตอร์เปิดอยู่และมีทั้ง 3 สี ตาของเรา จะเห็นรวมกันเป็นสีขาว ถ้ามีเพียงบางจุดที่เปิดอยู่ ไม่ได้เปิดสีพร้อมกันทั้งหมด  ตาของเราจะเห็นเป็นสีผสมต่างๆ กันมากมาก ระบบสี RGB เป็นระบบที่ใช้กันทั่วไปในจอคอมพิวเตอร์ระบบนี้เป็นระบบที่ทำงานได้ดีและมองดูเป็นธรรมชาติ และเนื่องจากว่าฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์มีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับสี บางครั้งระบบ RGB ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะสีที่ปรากฏในจอคอมพิวเตอร์เมื่อทำการสั่งพิมพ์ออกมาจะทำให้สีมีการผิดเพี้ยนเกิดขึ้น เนื่องจากระบบการพิมพ์ใช้ระบบ CMYK              การแปลงจากระบบ RGB ไปเป็นระบบ CMYK มีปัญหาที่ควรระวัง คือ การที่สีเปลี่ยนจากสีหนึ่งไปเป็นอีกสีหนึ่ง ให้ระลึกเสมอว่าระบบ RGB ต้นกำเนิดมาจากการเปล่งแสง แต่ระบบ CMYK ต้นกำเนิดมาจากการสะท้อนแสงซึ่งธรรมชาติการกำเนิดแสงต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนพิมพ์จะทำหน้าที่เปลี่ยนไฟล์RGB เป็นไฟล์ CMYK สำหรับการพิมพ์ตามที่เราต้องการ
                                ปัจจุบันมีซอฟแวร์ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ทำงานโดยตรงกับสี CMYK ซึ่งเป็นข้อดีของกราฟิกแบบบิตแมป ในขณะที่โปรแกรมกราฟิกแบบเวกเตอร์มีความสามารถด้านหนึ่งแต่กราฟิกแบบบิตแมปก็มีความสามารถอีกด้านหนึ่ง คือมีการให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสี และควบคุมลักษณะภาพที่จะปรากฏในขณะพิมพ์

งานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก
                ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector

   ที่มา  :  http://gpd-work.blogspot.com/2011/10/blog-post_6426.html

สรุป
          สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
             1. RGB  เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือแดง ( Red), เขียว ( Green)และน้ำเงิน ( Blue)เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่าง ๆบนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี     
             2.CMYK   เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือสีฟ้า (Cyan),สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow)และสีดำ (Black)
             3.HSB     เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Hue Saturation     Brightness
             4. LAB     เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                   "L" หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำแต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว
                   "A" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
                   "B" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น